โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ผลิตผลงานกราฟิก
ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้ทำงานกราฟิกเป็นจำนวนมาก สามารถจัดแบ่งโปรแกรมสำหรับงานกราฟิกออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามแผนภาพ
ดังนี้
รูปที่ 3.1
การจัดประเภทของโปรแกรมกราฟิก
1)
กราฟิกวาดภาพ (drawing graphics)
โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ และโปรแกรมช่วยออกแบบ
โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้งานที่มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสร้างหรือวาดภาพหรือตกแต่งภาพที่คล้ายกัน เช่น การแบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ สำหรับเป็นพื้นที่วาดภาพซึ่งสามารถเลื่อนดูภาพในส่วนที่ไม่ได้ปรากฏบนจอ รายการเลือก กล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยสัญรูปเครื่องมือสำหรับใช้วาดรูป เช่น รูปทรงพื้นฐานสำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม ดินสอให้วาดรูปโดยอิสระ แว่นขยายสำหรับใช้ย่อหรือขยายรูปออกมาตกแต่ง ตัวอักษรสำหรับพิมพ์ข้อความลงในภาพซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบอักษรหรือเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ผลลัพธ์ของโปรแกรมประเภทนี้จะเป็นแฟ้มภาพที่นำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น เพนต์บรัช (Paint brush) โฟโตชอพ (Photoshop) คอเรลดรอว์ (Corel Draw) เพนต์ (Paint) เป็นต้น
โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ และโปรแกรมช่วยออกแบบ
โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้งานที่มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสร้างหรือวาดภาพหรือตกแต่งภาพที่คล้ายกัน เช่น การแบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ สำหรับเป็นพื้นที่วาดภาพซึ่งสามารถเลื่อนดูภาพในส่วนที่ไม่ได้ปรากฏบนจอ รายการเลือก กล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยสัญรูปเครื่องมือสำหรับใช้วาดรูป เช่น รูปทรงพื้นฐานสำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม ดินสอให้วาดรูปโดยอิสระ แว่นขยายสำหรับใช้ย่อหรือขยายรูปออกมาตกแต่ง ตัวอักษรสำหรับพิมพ์ข้อความลงในภาพซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบอักษรหรือเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ผลลัพธ์ของโปรแกรมประเภทนี้จะเป็นแฟ้มภาพที่นำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น เพนต์บรัช (Paint brush) โฟโตชอพ (Photoshop) คอเรลดรอว์ (Corel Draw) เพนต์ (Paint) เป็นต้น
รูปที่ 3.2
โปรแกรมตกแต่งภาพเพนต์
โปรแกรมช่วยออกแบบ จะใช้ในงานกราฟิกทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
เช่น แบบแปลนตึก แบบอุปกรณ์ แบบรถยนต์ แบบเครื่องบิน สามารถใช้เขียนภาพ
โดยมีมาตราส่วนจริงได้ โปรแกรมช่วยออกแบบทั่วไปยังแบ่งได้เป็นแบบ
2 มิติ ตัวอย่างเช่น
ออโตแคด (Auto CAD) และ แบบ
3 มิติ เช่น
3DMAX ซึ่งมักจะใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานโฆษณา
เทคนิคอย่างหนึ่งในโปรแกรมช่วยออกแบบ คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหว (animation) ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากการพลิกดูภาพเดี่ยวหลาย ๆ ภาพที่เรียงซ้อนกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้มองเห็นรูปในภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมกราฟิกวาดภาพเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์ หรือภาพการ์ตูน ในด้านธุรกิจการสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซับซ้อน และยุ่งยาก ในระยะแรก ๆ ของการผลิตภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหว 1 วินาที จะต้องใช้ภาพวาดจำนวน 36 ภาพ ปัจจุบันโทรทัศน์ในอเมริกาใช้ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ใช้ 30 ภาพ ต่อวินาที ออกอากาศโดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดภาพและกำหนดการเคลื่อนไหว สำหรับประเทศไทยสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบพาว (PAL) จึงใช้ 25 ภาพต่อวินาที สำหรับภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์จะใช้ภาพไม่น้อยกว่า 19 ภาพต่อวินาที ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหว
คอมพิวเตอร์สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีโปรแกรมกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวสามารถกำหนดหรือสร้างลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวอักษรและตัวแสดงได้อย่างรวดเร็วและสะดวก โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอาศัยหลักการเดียวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์ เพียงแต่จะเก็บภาพที่วาดในรูปข้อมูลดิจิทัลไว้ในสื่อพิเศษ แล้วนำมาแสดงต่อเนื่องกันเป็นภาพเคลื่อนไหว
เทคนิคอย่างหนึ่งในโปรแกรมช่วยออกแบบ คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหว (animation) ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากการพลิกดูภาพเดี่ยวหลาย ๆ ภาพที่เรียงซ้อนกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้มองเห็นรูปในภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมกราฟิกวาดภาพเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์ หรือภาพการ์ตูน ในด้านธุรกิจการสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซับซ้อน และยุ่งยาก ในระยะแรก ๆ ของการผลิตภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหว 1 วินาที จะต้องใช้ภาพวาดจำนวน 36 ภาพ ปัจจุบันโทรทัศน์ในอเมริกาใช้ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ใช้ 30 ภาพ ต่อวินาที ออกอากาศโดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดภาพและกำหนดการเคลื่อนไหว สำหรับประเทศไทยสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบพาว (PAL) จึงใช้ 25 ภาพต่อวินาที สำหรับภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์จะใช้ภาพไม่น้อยกว่า 19 ภาพต่อวินาที ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหว
คอมพิวเตอร์สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีโปรแกรมกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวสามารถกำหนดหรือสร้างลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวอักษรและตัวแสดงได้อย่างรวดเร็วและสะดวก โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอาศัยหลักการเดียวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์ เพียงแต่จะเก็บภาพที่วาดในรูปข้อมูลดิจิทัลไว้ในสื่อพิเศษ แล้วนำมาแสดงต่อเนื่องกันเป็นภาพเคลื่อนไหว
2) กราฟิกการนำเสนอ (presentation graphics)
โปรแกรมประเภทนี้ใช้นำเสนอข้อมูลหรือผลงานในรูปกราฟิก ส่วนใหญ่โปรแกรมอนุญาตให้ใส่ ตัวอักษร ภาพ รูปกราฟต่าง ๆ และมีการเก็บข้อมูลเป็นหน้า ๆ เพื่อนำมาแสดงหรือนำเสนอได้ง่าย ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โลตัส ฟรีเลนซ์ (lotus freelance) ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint)
โปรแกรมประเภทนี้ใช้นำเสนอข้อมูลหรือผลงานในรูปกราฟิก ส่วนใหญ่โปรแกรมอนุญาตให้ใส่ ตัวอักษร ภาพ รูปกราฟต่าง ๆ และมีการเก็บข้อมูลเป็นหน้า ๆ เพื่อนำมาแสดงหรือนำเสนอได้ง่าย ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โลตัส ฟรีเลนซ์ (lotus freelance) ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint)
รูปที่ 3.3
โปรแกรมนำเสนอ ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์
โปรแกรมแสดงข้อมูลทางกราฟิกสามารถจัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมประเภทนี้ได้
เนื่องจากใช้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวม คำนวณ
หรือทดลองมาแสดงผลเป็นรูปกราฟ 2 มิติ
หรือ กราฟ 3 มิติ ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่แสดงข้อมูลจากการคำนวณจำนวนมาก เช่น การสร้างแผนที่อากาศ การทดสอบเครื่องบินในอุโมงค์ลม การสร้างภาพนามธรรม
นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่แสดงข้อมูลจากการคำนวณจำนวนมาก เช่น การสร้างแผนที่อากาศ การทดสอบเครื่องบินในอุโมงค์ลม การสร้างภาพนามธรรม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น